รู้หรือไม่? อาการตาล้าจากการขับรถเกิดจากอะไร (เสี่ยงอุบัติเหตุ)

รู้หรือไม่? อาการตาล้าจากการขับรถเกิดจากอะไร (เสี่ยงอุบัติเหตุ)

อาการตาล้าตอนขับรถ

          ประสาทสัมผัส หมายถึง ความสามารถของสิ่งมีชีวิตในการรับรู้ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพื่อการเรียนรู้และเข้าใจสิ่งรอบตัว ช่วยให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ ผ่านอวัยวะรับความรู้สึกต่างๆ ซึ่งมนุษย์มีประสาทสัมผัสหลัก 5 ประการ ได้แก่ การมองเห็น เป็นประสาทสัมผัสที่ช่วยให้เรามองเห็นวัตถุและแสงสว่างผ่านเซลล์รับแสงที่ส่งสัญญาณไปยังสมอง การได้ยิน เป็นประสาทสัมผัสที่ช่วยให้รับฟังเสียง ผ่านการสัญญาณการสั่นสะเทือนของหูเพื่อส่งสัญญาณไปยังสมอง การดมกลิ่น เป็นประสาทสัมผัสที่ช่วยให้เรารับกลิ่น ผ่านจมูกที่มีเซลล์รับกลิ่นที่รับรู้โมเลกุลในอากาศเพื่อส่งสัญญาณไปยังสมอง การรับรส เป็นประสาทสัมผัสที่ใช้ในการรับรส ผ่านปุ่มรับรสที่แตกต่างกันของลิ้นเพื่อส่งสัญญาณไปยังสมอง และ การสัมผัส เป็นประสาทสัมผัสที่ช่วยให้เรารับความรู้สึกถึงสิ่งของผ่านผิวหนังที่มีปลายประสาทรับความรู้สึกที่แตกต่างกัน เช่น อุณหภูมิ ความดัน และความเจ็บปวด เพื่อส่งสัญญาณไปยังสมอง 

          ถึงแม้ การสัมผัส จะเป็นระบบประสาทที่มีบริเวณในการรับรู้มากที่สุด แต่ การมองเห็น เป็นประสาทสัมผัสที่มีการใช้งานมากที่สุด และเป็นประสาทสัมผัสที่สามารถรับรู้ได้ไกลมากที่สุด ด้วย ดวงตา ที่เป็นอวัยวะขนาดเล็กของร่างกาย และในชีวิตประจำวัน การมองเห็น ก็เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตทั้งการระมัดระวังอันตรายรอบตัว การทำงาน รวมถึงการเดินทางอีกด้วย

พักสายตา

          การดูแลดวงตา จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยในการถนอมประสาทสัมผัสด้านการมองเห็นให้คงประสิทธิภาพที่ดี และสามารถใช้ได้อย่างยาวนาน เพราะถ้าหากดูแลดวงตาได้ไม่ดีก็อาจทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น อาหารตาล้า ได้ ดังนั้นสาเหตุหลักที่ทำให้ดวงตาเสื่อมสภาพ คือ แสง นั้นเอง !! ทั้งแสงจากหน้าจอต่าง ๆ แสงจากหลอดไฟ รวมถึง แสงแดด เช่นกัน เมื่อเกิดอาการตาล้า จะทำให้รู้สึก ปวดตา แสบตา ตาพร่ามัว มองภาพไม่ชัด หรืออาจมีน้ำตาไหลออกมา และถ้ากำลังขับขี่ทำให้เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ บทความนี้จึงกล่าวถึง 5 สาเหตุของอาการตาล้า ดังนี้

         1. ปัญหาสุขภาพของดวงตา เพราะดวงตาเป็นอวัยวะที่มีการใช้งานอย่างหนักในทุก ๆ วัน จึงควรตรวจสุขภาพตาเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคทางตา เช่น ผู้ที่มีสายตาสั้น ยาว เอียง หรือมีปัญหาด้านการมองเห็นอื่นๆ

          2. การใช้สายตาเพ่งเป็นเวลานานๆ ด้วยการจราจรที่ติดขัด ทำให้ใช้เวลาในการเดินทางเป็นเวลานาน ทำให้ต้องจ้องมองถนน ป้ายจราจร และรถคันอื่นๆ เป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานหนักและเกิดอาการตาล้าได้ ควรพักสายตาด้วยกฎ 20-20-20 คือ ทุก ๆ 20 นาทีที่ใช้สายตา ให้มองวัตถุที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 20 ฟุต ( ประมาณ 6 เมตร ) เป็นเวลา 20 วินาที เพื่อการพักผ่อนสายตา

         3. ท่าทางการขับขี่ที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากการนั่งขับขี่ที่ไม่เหมาะสม เช่น เบาะที่นั่งสูงเกินไป ทำให้ต้องก้มศีรษะ หรือการก้มมองหน้าจอโทรศัพท์บ่อยครั้ง หรือ GPS ทำให้สายตาต้องปรับโฟกัสบ่อยจนเกิดอาการตาล้าได้

         4. พฤติกรรมการใช้ชีวิต การนอนหลับไม่เพียงพอ ความเครียด วิตกกังวล ทำให้กล้ามเนื้อไม่ได้พักผ่อน รวมถึงการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มคาเฟอีน ส่งผลต่อระบบประสาทและระบบไหลเวียนของโลหิตทำให้มีโอกาสเกิดอาการตาล้าได้

         5. แสงแดดที่จ้ามากเกินไป การใช้จอหน้าคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ และหลีกเลี่ยงแสงจ้าโดยตรง ด้วยการใส่แว่นกันแดด หรือการติดตั้งฟิล์มกรองแสงขณะเดินทางด้วยรถยนต์ เพราะนอกจากฟิล์มกรองแสงรถยนต์จะช่วยลดแสงจ้า ฟิล์มกรองแสงยังช่วยลดความร้อนจากแสงแดดได้อีกด้วย

ฟิล์มรถเท่

นอกจากนี้ หากติดฟิล์มกรองแสงแล้วอย่าลืมที่จะตรวจเช็คสภาพฟิล์มกรองแสงว่ายังสามารถป้องกันแสงแดดได้ประสิทธิภาพเหมือนเดิม เพราะถ้าหากฟิล์มกรองแสงรถยนต์เสื่อมสภาพก็ไม่สามารถที่จะป้องกันแสงแดด รังสียูวี หรือป้องกันความร้อนได้ และอาจเกิดฟองอากาศที่จะบดบังทัศนวิสัยในการขับขี่ได้อีกด้วย

สรุป อาการตาล้าในขณะขับขี่  มักเกิดจากการใช้สายตามากในขณะขับขี่เป็นเวลานาน เพราะระหว่างการขับขี่สิ่งที่ต้องมองมีมากมายตั้งแต่ ถนน รถข้างๆ สัญญาณไฟจราจร และอื่นๆ อีกมากมาย และถ้าหากทัศนวิสัยในการขับขี่ไม่ชัดเจน ก็จะยิ่งต้องใช้สายตาในการเพ่งมากขึ้น ซึ่งสิ่งบดบังสายตาอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงแดด หรือ ฟิล์มกรองแสงที่เสื่อมสภาพ ดังนั้นเมื่อตรวจสอบสภาพรถแล้ว อย่าลืมตรวจสภาพฟิล์มกรองแสงรถยนต์ด้วย เพื่อทัศนวิสัยที่ชัดเจนในการขับขี่และยังลดความร้อนจากแสงแดดที่ร้อนทะลุ 40 องศาเซลเซียสได้อีกด้วย

แต่ถ้าหากไม่มั่นใจว่า ฟิล์มกรองแสงรถยนต์ เสื่อมสภาพหรือยัง สามารถติดต่อปรึกษาทีมช่างผู้เชี่ยวชาญ ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีทันสมัย และได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้จริงยาวนานด้วยประสบการณ์กว่า 37 ปี ได้ที่ GLASSTECH