ADAS ดีแค่ไหน ถ้าไม่ปรับเทียบก็เป็นศูนย์

ADAS ดีแค่ไหน ถ้าไม่ปรับเทียบก็เป็นศูนย์

ปรับเทียบ ADAS
          ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (ADAS) เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในรถยนต์ยุคใหม่ ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการขับขี่ แต่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าประสิทธิภาพของระบบ ADAS นั้นขึ้นอยู่กับการปรับเทียบอย่างสม่ำเสมอ หากระบบ ADAS ไม่ได้รับการปรับเทียบให้ถูกต้อง ก็อาจส่งผลเสียต่อความปลอดภัยในการขับขี่ได้
               ซึ่ง ระบบ ADAS หรือ Advanced Driver-Assistance Systems หมายถึง ระบบที่ช่วยผู้ขับขี่รถยนต์ทั้งการแจ้งเตือน ควบคุม รวมไปถึงการขับขี่ตามความต้องการของผู้ขับขี่ด้วยการรับรู้สภาพแวดล้อมรอบตัวรถจากเซ็นเซอร์ต่างๆ เช่น กล้อง เรดาร์ และไรด้า และประมวลผลด้วย ระบบ AI ( ปัญญาประดิษฐ์ ) ( อ่านเพิ่มเติม คลิก !! ) ทำให้รถยนต์สามารถแจ้งเตือนเมื่อขับขี่ออกนอกเลน การเบรกรถยนต์อัตโนมัติ หรือ แม้กระทั่งการขับขี่อัตโนมัติ ระบบ ADAS ก็มีส่วนในการทำงานเช่นเดียวกัน
               นอกจากนี้ ระบบ ADAS ยังเป็นมาตรฐานใหม่ของรถยนต์ในยุโรป เนื่องจากกฎระเบียบในด้านความปลอดภัยของ การประเมินรถยนต์ใหม่ ( NCAP ) ของสหภาพยุโรป ที่มีการกำหนดให้ ระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในเลน และระบบช่วยควบคุมความเร็วอัจฉริยะ เป็นข้อบังคับให้รถยนต์ใหม่ทุกคันตั้งแต่ปี 2567 จำเป็นต้องมี ซึ่งหมายความว่า รถยนต์ใหม่ทุกคันต่อจากปัจจุบันนี้ในยุโรป จะติดตั้งกล้องหน้ารถ และมีระบบ ADAS เป็นระบบพื้นฐานสำหรับรถยนต์ ( ระบบ ADAS ยังมีผลต่อระบบอื่น ๆ อ่านเพิ่มเติม คลิก !! )
Recalibrate ADAS

เมื่อไหร่ที่จำเป็นต้องปรับเทียบระบบ ADAS ( Re-calibrate ADAS )

          ระบบ ADAS เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้การขับขี่ปลอดภัยและสะดวกสบายมากขึ้น แต่ก็จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอเหมือนกับเครื่องยนต์ของรถยนต์ เพื่อให้สร้างทำงานได้อย่างปกติ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจำเป็นต้องปรับเทียบระบบ ADAS ต่อเมื่อมีสาเหตุดังต่อไปนี้
     1. หลังจากเกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุเล็กน้อยหรือรุนแรง การชนอาจทำให้เซ็นเซอร์และกล้องของระบบ ADAS เกิดความเสียหายหรือเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งเดิมได้
     2. หลังจากเปลี่ยนกระจกหน้ารถ กระจกหน้ารถเป็นที่ตั้งของกล้องและเซ็นเซอร์หลายตัว การเปลี่ยนกระจกหน้ารถอาจทำให้ตำแหน่งของอุปกรณ์เหล่านี้เปลี่ยนแปลงไป
     3. หลังจากเปลี่ยนล้อ ยาง หรือยกสูงรถ การเปลี่ยนขนาดของยาง หรือขนาดล้อ หรือการยกสูงรถจะจะทำให้ความสูงของตัวรถเปลี่ยนแปลงไปจากมาตรฐาน มุมตรวจจับของเซ็นเซอร์จึงผิดเพี้ยนไป ทำให้ระบบ ADAS ตรวจจับระยะห่างระหว่างวัตถุกับตัวรถไม่ถูกต้อง
     4. หลังจากซ่อมแซมช่วงล่าง การซ่อมแซมส่วนประกอบของช่วงล่าง เช่น การตั้งศูนย์ล้อ อาจส่งผลต่อตำแหน่งของตัวรถและเซ็นเซอร์
     5. เมื่อมีสัญญาณเตือน หากมีไฟเตือนของระบบ ADAS สว่างขึ้น หรือระบบทำงานผิดปกติ เช่น ระบบเตือนการชนทำงานบ่อยเกินไป หรือระบบรักษารถให้อยู่ในช่องทางทำงานไม่เสถียร ควรนำรถเข้าตรวจสอบและปรับเทียบระบบ ADAS
     6. ตามที่ผู้ผลิตแนะนำในสมุดคู่มือประจำรถ ผู้ผลิตแต่ละรายจะมีคำแนะนำระบุไว้ในสมุดคู่มือเกี่ยวกับระยะเวลาและเหตุผลในการปรับเทียบระบบ ADAS ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามรุ่นของรถยนต์
ความปลอดภัยของรถยนต์

ปรับเทียบระบบ ADAS แล้วได้อะไร ?

     1. เพื่อมั่นใจในความปลอดภัยเมื่อขับขี่ การปรับเทียบจะช่วยให้ระบบ ADAS ทำงานได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ

     2. เพิ่มความสะดวกสบายในการขับขี่ ระบบต่างๆ จะทำงานร่วมกันได้อย่างลงตัว ช่วยแบ่งเบาภาระในการขับขี่ ทำให้ผู้ขับขี่รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น

     3. เพื่อยืดอายุการใช้งาน การปรับเทียบเป็นการดูแลรักษาระบบ ADAS ให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ ช่วยยืดอายุการใช้งานของระบบ และช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

          ดังนั้น ระบบ ADAS หรือ ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง เป็นเทคโนโลยีที่อาศัยเซ็นเซอร์และกล้องในการทำงาน เพื่อช่วยให้การขับขี่ปลอดภัยมากขึ้น แต่เพื่อให้ระบบเหล่านี้ทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นต้องมีการ ปรับเทียบ ( Re-calibrate ) เป็นประจำเพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะความปลอดภัยคือสิ่งที่สำคัญที่สุด