นวัตกรรมสำหรับรถยุคสมัยใหม่
วิวัฒนาการ ( Evolution ) หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตอย่างค่อยเป็นค่อยไป เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลายาวนาน เพื่อการดำรงชีวิตหรือการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เช่น การวิวัฒนาการจากยุคหิน สู่ ยุคอุตสาหกรรม ใช้ระยะเวลากว่าพันปี เพื่อเรียนรู้เรื่องการใช้ไฟ การเกษตร หรือการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อความสะดวกมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งเกิด รถไอน้ำสามล้อ
รถไอน้ำสามล้อ ( Three-wheeled steam car ) เป็นยานพาหนะชนิดหนึ่ง ขับเคลื่อนด้วย เครื่องจักรไอน้ำ มีล้อสามล้อ สองล้อหน้า หนึ่งล้อหลัง ประดิษฐ์ขึ้นใน ศตวรรษที่ 18 ถือเป็นหนึ่งใน ยานพาหนะล้อที่มีเครื่องยนต์ คันแรกๆ ของโลก แม้จะเคลื่อนที่ได้ไม่ถึง 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแห่งยานยนต์ ที่วิวัฒนาการต่อมาถึงปัจจุบันที่รถยนต์สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองไม่จำเป็นต้องใช้คนขับ
รถยนต์ไร้คนขับ ( Autonomous Car ) คือ ยานพาหนะที่สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องมีคนควบคุม อธิบายง่าย ๆ ก็คือ รถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนอัตโนมัติ จากการรับรู้สภาพแวดล้อม ตัดสินใจ และควบคุมการขับขี่ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องอาศัยการแทรกแซงจากผู้ขับ แต่ระบบการทำงานก็มีหน้าที่แตกต่างกันออกไปจึงมีการจัดแบ่ง ระดับความสามารถของรถยนต์ไร้คนขับ (Autonomous Vehicle Levels) ตามมาตรฐานของ SAE International ( Society of Automotive Engineers International หรือ องค์กรวิศวกรรมยานยนต์ระดับโลก ) แบ่งระดับความสามารถของรถยนต์ไร้คนขับออกเป็น 6 ระดับ ดังนี้
ระดับ 0 : ไม่มีระบบช่วยขับขี่ ผู้ขับขี่ควบคุมรถทั้งหมดด้วยตัวเอง ทั้งการบังคับเลี้ยว คันเร่ง เบรก เช่น รถยนต์ทั่วไปในปัจจุบัน
ระดับ 1 : ระบบช่วยขับขี่แบบช่วยเหลือการขับขี่ (Driver Assistance) ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่บางอย่าง แต่คนผู้ขับขี่ยังคงควบคุมรถเป็นหลัก เช่น ระบบรักษาระยะห่าง (Adaptive Cruise Control) ระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ (Autonomous Emergency Braking) และ ระบบเตือนออกนอกเลน (Lane Departure Warning)
ระดับ 2 : ระบบช่วยขับขี่แบบผสมผสาน (Partial Automation) ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่มากกว่าระดับ 1 สามารถควบคุมการบังคับเลี้ยวหรือควบคุมความเร็วได้ ผู้ขับขี่ยังคงเป็นผู้ควบคุมรถเป็นหลัก เช่น ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผันตามสภาพการจราจร (Adaptive Cruise Control with Stop and Go) ระบบควบคุมเลนอัตโนมัติ (Lane Keeping Assist) และ ระบบความปลอดภัยอัจฉริยะผู้ช่วยขับขี่ขั้นสูง (Advanced Driver Assistance Systems – ADAS) ( อ่านเพิ่มเติม คลิก !! )
ระดับ 3 : ระบบขับขี่อัตโนมัติแบบมีเงื่อนไข (Conditional Automation) ระบบขับขี่อัตโนมัติในบางสถานการณ์ เช่น บนทางด่วน หรือถนนที่มีเลนแบ่งชัดเจน ผู้ขับขี่ไม่จำเป็นต้องควบคุมรถ แต่ต้องพร้อมเข้าควบคุมเมื่อเกิดเหตุจำเป็น เช่น ระบบขับขี่อัตโนมัติบนทางด่วน (Highway Autopilot) ระบบนำรถเข้าจอดอัตโนมัติ (Automated Valet Parking)
ระดับ 4: ระบบขับขี่อัตโนมัติแบบสูง (High Automation) ระบบขับขี่อัตโนมัติในทุกสถานการณ์ ไม่จำเป็นต้องมีคนขับ แต่จำเป็นต้องมีผู้ขับขี่โดยสารเพื่อควบคุมรถเมื่อเกิดเหตุจำเป็น เช่น ระบบขับขี่อัตโนมัติ ( Autopilot )
ระดับ 5: ระบบขับขี่อัตโนมัติแบบสมบูรณ์ (Full Automation) ระบบขับขี่อัตโนมัติแบบสมบูรณ์แบบ ไม่จำเป็นต้องมีคนขับหรือผู้โดยสาร สามารถใช้งานได้ทุกสถานการณ์ ทุกสภาพอากาศ เช่น รถยนต์ขนส่งสินค้าไร้คนขับ
ข้อดีของรถยนต์ไร้คนขับ:
- เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน ลดอุบัติเหตุที่เกิดจาก Human Error เช่น เมาแล้วขับ หรืออาการหลับในระหว่างขับรถ
- เพิ่มประสิทธิภาพการจราจร ลดเวลาการเดินทาง
- เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการขนส่ง สำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ไม่มีใบขับขี่
แต่ระบบของรถยนต์ไร้คนขับจะสามารถรับรู้ถึงสภาพแวดล้อมเพื่อการควบคุมการขับขี่ จึงต้องมีเทคโนโลยีหลัก ๆ 3 อย่าง ได้แก่
1. ระบบรับรู้สภาพแวดล้อม เป็นเหมือนดวงตาของรถยนต์ที่ทำหน้าที่รับรู้สภาพแวดล้อมรอบคัน ทั้งการตรวจสัญญาณไฟจราจร เลนถนน รวมถึงเส้นทาง ซึ่งอยู่บริเวณเหนือ กระจกหน้ารถยนต์
2. ระบบประมวลผล เป็นเหมือนสมองของรถยนต์ไร้คนขับ ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลจากเซ็นเซอร์ ตัดสินใจ และส่งคำสั่งควบคุมการขับขี่
3. ระบบควบคุม เป็นเหมือนกล้ามเนื้อของรถยนต์ไร้คนขับ ทำหน้าที่ควบคุมการบังคับเลี้ยว คันเร่ง เบรก ตามคำสั่งจากระบบประมวลผล
ดังนั้น กระจกรถยนต์ จึงเป็นส่วนที่สำคัญทั้งด้านความปลอดภัยต่อผู้ขับขี่ ระบบ ADAS ( อ่านเพิ่มเติม คลิก !! ) และส่งผลต่อระบบการขับขี่อัตโนมัติด้วยเช่นกัน เพราะหากกระจกรถยนต์เกิดรอยแตก หรือ ร้าว ทำให้ระบบรับรู้สภาพแวดล้อมผิดพลาด จะส่งผลต่อระบบประมวลผลที่ผิดพลาด และระบบขับขี่อัตโนมัติก็ก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นเดียวกัน
แต่อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงเวลา ถ้าหากกระจกรถยนต์แตก หรือ เกิดรอยร้าว สามารถแก้ปัญหาเบื้องต้นกระจกรถยนต์แตก ร้าวได้ ( อ่านเพิ่มเติม คลิก !! ) และเข้ารับการแก้ไขโดยผู้เชี่ยวชาญด้านกระจกรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมกระจกรถยนต์ และการเปลี่ยนกระจกรถยนต์ที่มีมาตรฐานในระดับโรงงานประกอบรถยนต์ ( มาตรฐาน OEM ) ด้วยประสบการณ์กว่า 37 ปี กว่า 8 สาขาให้บริการครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล พร้อม บริการนอกสถานที่ ได้ที่ GLASSTECH