หน้าแรก ข่าวสาร/บทความ Dupe คือ อะไร ? ต้องดูอย่างไรเมื่อเลือกฟิล์ม ??? Dupe คือ อะไร ? ต้องดูอย่างไรเมื่อเลือกฟิล์ม ??? 4 July 2024 Share Facebook Twitter Email LINE Dupe คือ อะไร ? ต้องดูอย่างไรเมื่อเลือกฟิล์ม ??? Dupe ( ดู๊พ ) ย่อมาจาก Duplicate ( ดู๊พพลิเคท ) หมายถึง การจำลอง การสำเนา หรือสิ่งของที่เหมือนกัน เช่น สิ่งของที่มีคุณภาพ หรือ คุณสมบัติที่เหมือนกับสิ่งของอีกอย่างหนึ่ง แต่มีต้นทุนที่ต่ำกว่า ซึ่ง ไม่ใช่สินค้าปลอม หรือ สินค้าลอกเลียนแบบ แต่มักจะใช้กันในสิ่งของประเภท เดียวกันในปริมาณที่มาก จนเกิดเทรนด์ของผู้บริโภคที่เรียกว่า Dupe culture มักได้รับความนิยมในกลุ่มวัยรุ่น และผู้ที่มีงบจำกัด Dupe culture หมายถึง วัฒนธรรมที่ผู้บริโภคแสวงหาสินค้าที่มีคุณสมบัติเหมือน หรือ สามารถเทียบเคียงได้กับ สินค้าแบรนด์ โดยสินค้านั้นมักจะมีราคาที่ย่อมเยาว์กว่า และสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่า เช่นสินค้าประเภท สินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เป็นต้น ข้อได้เปรียบของ Dupe culture 1. ประหยัด เนื่องจาก สามารถได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ หรือคุณสมบัติที่ใกล้เคียง หรือเทียบเท่ากับสินค้าแบรนด์ ในราคาที่ย่อมเยาว์กว่า 2. สามารถเลือกได้หลากหลาย เนื่องจาก สินค้าแบรนด์จะมีสินค้าที่ค่อนข้างจำกัดทั้งรูปแบบ ประเภท และสีสันที่มีให้เลือก 3. สามารถเข้าถึงได้ง่าย เนื่องจาก สินค้าแบรนด์จะจำกัดผู้จำหน่ายสินค้า เช่น ร้านแบรนด์ ตัวแทนจำหน่าย หรือผู้ค้าออนไลน์ผ่านเจ้าของแบรนด์เท่านั้น สรุป จากเทรนด์ Dupe culture สินค้าที่เป็น สินค้า Dupe นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ หรือ คุณสมบัติที่เทียบเท่า หรือใกล้เคียงกับสินค้าแบรนด์ ซึ่งสินค้านั้น อาจจะไม่ใช่สินค้าปลอม หรือ เลียนแบบ ซึ่งมักมีให้เลือก หลากหลาย และเข้าถึงได้ง่าย กว่าสินค้าแบรนด์ ดังนั้น การเลือกสินค้า Dupe จึงเหมาะกับผู้ที่มีความรู้ในการเลือกสินค้าประเภทนั้น เพื่อให้ได้รับสินค้าที่คุณภาพดี ในราคาประหยัด และไม่มีผลข้างเคียงต่อการใช้งาน เช่น ฟิล์มกรองแสงรถยนต์ ที่จำเป็นต้องเลือกจากปัจจัยดังนี้ ปัจจัยสำคัญในการเลือกฟิล์มกรองแสง 1. ประเภทของฟิล์มกรองแสง เพื่อให้เหมาะกับการขับขี่รถยนต์ของแต่ละบุคคล ดังนี้ – ฟิล์มใสกันร้อน เหมาะกับผู้ขับขี่ในช่วงกลางวันเป็นส่วนมาก และต้องการให้ภายนอกสามารถมองเห็นภายใน เช่น รถโดยสารสาธารณะ – ฟิล์มดำ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสูง ไม่ต้องการการมองเห็นจากบุคคลภายนอก เช่น รถส่วนบุคคลที่ต้องการความเป็นส่วนตัว – ฟิล์มนิรภัย เน้นความปลอดภัยจากกระจกรถยนต์แตกจากแรงกระแทก เหมาะสำหรับผู้ขับขี่ที่ขับขี่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น รถยนต์ออฟโร้ด ( Off road ) – ฟิล์มเซรามิค เหมาะสำหรับผู้ขับขี่ทุกประเภท สามารถช่วยป้องกันรังสียูวี แสงสะท้อนได้ดี เหมาะกับผู้ขับขี่ทั่วไป เช่น ผู้ขับขี่ภายในเมือง 2. ความเข้มของฟิล์ม ขึ้นอยู่กับผู้ขับขี่และบริเวณกระจกรถยนต์ที่ติดฟิล์มกรองแสง – กระจกรถยนต์บานหน้า มักใช้ความเข้มที่ 40-60% เพื่อให้ทัศนวิสัยในการขับขี่ที่ชัดเจน – กระจกรถยนต์บานหลัง มักใช้ความความ 60-80% เพื่อความเป็นส่วนตัว และให้ผู้โดยสารไม่ร้อนจากแสงแดด 3. คุณสมบัติของฟิล์มกรองแสง – การป้องกัน UV เพื่อลดความอันตรายจากแสงแดดในขณะที่ขับขี่หรือโดยสารรถยนต์ในช่วงเวลากลางวัน – ค่า IR (Infrared Rejection) เพื่อช่วยลดความร้อนจากแสงแดด ทำให้บรรยากาศภายในรถยนต์เย็นสบายขึ้น และประหยัดพลังงานของเครื่องปรับอากาศ – การลดแสงสะท้อน (Reduce Glare) เพื่อให้ทัศนวิสัยในการขับขี่ดียิ่งขึ้น ลดแสงรบกวนต่าง ๆ เช่น แสงสะท้อนจากรถยนต์คันหน้า หรือแสงที่มาจากไฟหน้ารถยนต์ที่ส่วนทาง 4. การรับประกัน เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในคุณภาพของฟิล์มกรองแสงจากผู้ติดตั้ง ว่าจะสามารถได้รับประสิทธิภาพจากฟิล์มกรองแสงได้อย่างมั่นใจ 5. ราคา เป็นหนึ่งในปัจจัยที่บ่งบอกถึงคุณภาพของฟิล์มกรองแสงได้ เนื่องจากสินค้าส่วนมากที่คุณภาพดีจะมีต้นทุนที่สูง และจำหน่ายในราคาที่แพง ดังนั้น การเลือกสินค้า dupe จำเป็นต้องรู้รายละเอียดต่าง ๆ ของสินค้าที่ต้องการ เพื่อคุณภาพที่ดีในราคาประหยัด แต่ไม่ใช่กับ ฟิล์มกรองแสงรถยนต์ Ray-Shield Nano Ceramic Film ฟิล์มกรองแสงรถยนต์คุณภาพระดับพรีเมียม ที่มีค่า IR ได้ 95% ลดแสงสะท้อนได้สูงถึง 99% และป้องกันรังสี UV ได้ถึง 99.9% และยังรับประกันถึง 8 ปี ในราคาที่เข้าถึงได้ เพราะ ฟิล์มดี…ทำไมต้องแพง !! รายละเอียดฟิล์มรถยนต์ สอบถามรายละเอียด และนอกจากนี้ สำหรับบ้าน อาคาร หรือสำนักงานสามารถติดตั้ง ฟิล์มกรองแสงอาคาร Ray-Shield Nano Ceramic Sputtering Film ฟิล์มกรองแสงสำหรับอาคารคุณภาพระดับพรีเมียม ที่มีค่า IR 97% ลดแสงสะท้อนได้สูงถึง 99% และป้องกันรังสี UV ได้ถึง 99.9% และรับประกันยาวนานถึง 8 ปี เช่นกัน ในราคาที่เข้าถึงได้ เพราะ ฟิล์มดี…ทำไมต้องแพง !! รายละเอียดฟิล์มอาคาร สอบถามรายละเอียด Share Facebook Twitter Email LINE